นับตั้งแต่ปีที่ 2017 ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิสัตว์มากมายทั้งข่าวการคว่ำบาตรค้างาช้างในประเทศจีน รวมถึงการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการท่องเที่ยวอย่าง TripAdisor ที่ลุกขึ้นมาประกาศตนลดการทารุณกรรมสัตว์ด้วยการนำทริปขี่ช้าง รวมถึงการแสดงโชว์ของสัตว์ต่างๆ ออกจากหน้าเว็บทั้งหมดก่อนสิ้นปี 2016 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ามีหลายภาคส่วนที่เริ่มตระหนักถึงความสำคัญก็การรณรงค์ไม่ทารุณสัตว์ โดยเฉพาะช้างที่เป็นสัตว์หลักในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเอเชีย ที่กำลังได้รับผลกระทบและปริมาณลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าวิตกกังวล
ทาง TakeMeTour เองก็อยากร่วมเป็นอีกหนึ่งจุดยืนที่แสดงให้เห็นว่าเราทุกคน Local Expert มีส่วนร่วมในการสร้าง Responsible trip ที่ไม่มีการทารุณสัตว์ประกอบภายในทริป ก็สามารถเที่ยวให้สนุกโดยไม่เบียดเบียนสัตว์ได้ โดยมาดูเหตุผลกันดีกว่า ว่าเพราะเหตุใดการแสดงช้าง หรือการขี่ช้างที่เราเชื่อว่าเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์ช้าง แท้จริงแล้วมันส่งผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามต่างกันดีกว่า
- 1. แยกแม่ออกจากลูก
ก่อนการพาช้างมาฝึกเพื่อให้สามารถแสดงหรือขึ้นขี่ได้นั้น จะต้องมีพิธีการที่จะทำให้ช้างที่จะมาฝึกเชื่องขึ้นเรียกกันว่า พิธี ผ่าจ้าน คือ พิธีการที่ควาญช้างตั้งขึ้นเพื่อแยกลูก-แม่ช้างออกจากกัน ในช่วงระยะเวลาที่ลูกช้างกำลังจะหย่านม เพื่อทำให้การฝึกเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ให้ลูกช้างหนีกลับไปหาแม่ และป้องกันแม่ไม่ตกมันทำร้ายควาญในระหว่างการฝึก เป็นพิธีกรรมทางเหนือที่ได้รับความเชื่อถือปฏิบัติต่อกันลงมานานหลายชั่วปี
หมอช้างจะลงอาคมในน้ำขมิ้นส้มป่อยและพรมให้ทั่วตัวลูกช้าง ใช้ไม้ผ่าจ้านเคาะหัวลูกช้าง 3 ทีแล้วโยนไม้นั้นทิ้งไป ต่อไปก็ต้อนแม่ช้างออกมา ด้วยการคลายโซ่ที่ล่ามแม่ช้างออกแม่ช้างจะวิ่งไปหาลูก พยายามพังคอกออกให้ได้ ควาญต้องขึ้นไปบนหลังแม่ช้าง บังคับแม่ช้างและร่ายอาคมอีกครั้งแม่ช้างจะค่อย ๆ หันหน้าออกจากลูกช้างและเดินจากไปโดยไม่หันกลับมาดูลูกอีกเลย ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเป็นไปได้
การทำพิธีผ่าจ้านของบางหมอ ไม่ใช้ไม้ผ่าจ้าน แต่ใช้หลักไม้ไผ่ตอกเป็นรูปสามเหลี่ยมสามเส้าหน้าคอกช้าง เมื่อลูกช้างผ่านแนวตอกหลักไว้ก็หมายถึงการตัดขาดจากแม่จากลูกกัน บางหมอนำผ้านุ่งผู้หญิงและเสื้อมาปัดบนหลังช้างเพื่อเอาเคล็ดให้ช้างป่ากลายเป็นช้างบ้าน
ควาญยังทำนายนิสัยของลูกช้างด้วยคือนำไก่ขนสีดำมาลูบบนหลังลูกช้างจากหัวไปหาง 3 ครั้ง แล้วโยนไก่ไปทางหลังลูกช้าง จากนั้นสังเกตไก่ว่ามีลักษณะอย่างไร หากไก่ตกใจวิ่งหนี เชื่อว่าลูกช้างเชือกนี้ตระหนกตกใจง่าย ถ้าไก่สลัดขนคนเป็นควาญต้องระวังให้ดีช้างเชือกนี้จะชอบสลัดควาญตกแน่ๆค่ะ
จากนั้น หมอช้างจะปล่อยหน้าที่ให้เป็นของควาญช้างในการฝึกให้ทำตามคำสั่งได้ต่อไป ขั้นตอนฝึกใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน ขึ้นกับนิสัยของลูกช้าง ก่อนจะปล่อยเข้าสู่การสอนการชักลากไม้หรือการท่องเที่ยวต่อไป
- 2. ช้างบ้านกลับเข้าป่าไม่ได้
โรค PTSD หรือ Post-traumatic Stress Disorder รู้จักกันว่าโรคเครียดหรืออาการหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ เป็นโรคที่จะพบในกลุ่มคนที่ประสบกับเหตุการณ์ทางภัยพิบัติธรรมชาติ อุบัติเหตุร้ายแรง หรือภัยคุกคามที่ฝั่งใจ จนก่อให้เกิดอาการเรื้อรังเหตุภาพเหตุการณ์ซ้ำๆ หรือสร้างอาการความเครียด โรคซึมเศร้าตามมา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของบุคคลผู้คน
ซึ่งโรคนี้เองก็เกิดขึ้นกับช้างเช่นเดียวกัน โดยมีการวิจัยพบว่าลูกช้างจำนวนมากที่เข้ารับวิธีผ่าจ้าน หรือการฝึกฝนให้ชินกับควาญช้าง มักจะมีอาการของโรคเครียดนี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ช้างไม่สามารถเข้าฝูงหรือสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติได้
แม้ชาวไทยเราจะมีคติและความเชื่อดั้งเดิมสืบทอดมาว่าช้างเป็นสัตว์แข็งแรง แต่ในความเป็นจริงแล้วช้างการใช้งานช้างอย่างการขี่ การลากของ และการให้ยืนเป็นพื้นคอนกรีตที่ไม่มีแรงหนุนเหมือนเดิมเป็นเวลานาน สามารถสร้างผลกระทบอย่างมากให้กับช้างได้ โดยเฉพาะในเรื่องของโรคไขข้อกระดูกที่ขา เพราะแท้จริงแล้วสรีระของช้างออกแบบให้รับน้ำหนักแค่ร่างกายของมันเพียงอย่างเดียว กระดูกสันหลังจะโก่งโค้งไม่เหมาะจะถูกนำมาแบกรับสัมภาระ ที่จะส่งผลต่อรูปร่างของกระดูกสันหลังให้บิดเบี้ยวไปอีกได้
ทั้งการใช้งานหนักเสริมสร้างความเสี่ยงที่จะทำให้ช้างต้องจากไปก่อนวัยอันควร ซึ่งพบจำนวนมากจากการสำรวจในสถานที่มีการโชว์ช้าง หรือการขี่ช้าง
หลายครั้งที่ช้างมีอาการตระหนกหรือตื่นกลัวจากการต้องพบปะกับฝูงชนจำนวนมาก จนอาละวาดและพยายามหาทางหนีให้พ้นจากภัยคุกคาม ซึ่งอาจสร้างความสูญเสียต่อทรัพย์สินหรือชีวิตที่อาจเกิดขึ้น ดังเช่นที่ปรากฏข่าวเมื่อปลายปี 2017 เมื่อช้างเกิดตื่นตระหนก ทำให้มีชายผลัดตกจากหลังช้างแล้วถูกเหยียบจนเสียชีวิต https://chelorg.com/2017/12/01/in-thailand-the-elephant-trampled-to-death-a-german-tourist/
แม้จะไม่ใช่เหตุการณ์ที่พบได้บ่อยนัก แต่ก็ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่า วันใดวันหนึ่งเราจะกลายเป็นหนึ่งในเหยื่อจากอุบัติเหตุเช่นนี้ได้
5. มีอุปสงค์ก็จำเป็นต้องมีอุปทาน
แม้ดั่งที่บอกในปัจจุบันมี นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปฏิเสธการท่องเที่ยวที่มีการแสดงช้าง หรือขี่ช้างเข้ามาประกอบมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีส่วนหนึ่งที่ยังคงสนใจ และได้รับการสนับสนุนให้สัมผัสประสบการณ์การแสดงเช่นนี้อยู่ เพราะนักท่องเที่ยวหลายคนยังไม่เข้าใจ หรือรับรู้เบื้องหลังการฝึกฝนช้างเหล่านี้ เราสามารถเริ่มต้นเป็นผู้ไม่สนับสนุนได้ด้วยการไม่แนะนำหรือพาไปยังสถานที่มีการแสดงโชว์ เพื่อแสดงจุดยืนของการอนุรักษ์สัตว์ที่ไม่ยั้งยืน นอกจากทั้งการขี่ช้างแล้ว การแสดงกายกรรมช้างต่างๆ เองก็เป็นสิ่งที่เราเลิกสนับสนุนวันนี้ เพื่อสุขภาพและการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนไปด้วยกันได้
อ้างอิง:
- Why you should turn your back on Elephant rides | Jennifer O’Connor | 10 March 2016 https://www.peta.org/blog/tourism-elephant-rides-cruel/
- Tourist Killed When Elephant Snaps | Jennifer O’Connor | 2 February 2016 | https://www.peta.org/blog/tourist-killed-when-elephant-snaps/
- No more elephant rides: TripAdvisor promise to crease selling tickets to ‘cruel’ animals attractions | Hugh Morris | 12 October 2016 | http://www.telegraph.co.uk/travel/news/tripadvisor-promises-to-stop-selling-tickets-cruel-animal-attractions/