อันตรายจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ในรถยนต์

?‍♀️สำหรับเพื่อนๆคนพาเที่ยวที่ต้องเดินทางไกลและขับรถบ่อยๆควรอ่านกันนะคะ‼️

“การปิดหน้าต่าง ขับรถนานๆ อาจเกิดอันตรายจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ในรถได้”

ถ้าคนเราได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป (เกินกว่า 1100 ppm) จะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น การควบคุมกล้ามเนื้อและการตัดสินใจจะแย่ลง เกิดอาการง่วงซึม เหนื่อยล้า และเป็นอันตรายต่อการขับขี่รถได้

เมื่อก่อนระบบปรับอากาศของรถยนต์ส่วนใหญ่ จะมีประตูลมด้านนอกที่มีช่องหรือรอยหยัก เปิดให้อากาศบริสุทธิ์บางส่วน สามารถเข้ามาในห้องผู้โดยสารได้ (แม้ว่าจะอยู่ในสถานะที่คนขับตั้งให้ “อากาศไหลเวียนแค่ผ่านในรถ” ก็ตาม) แต่รถยนต์สมัยใหม่นั้น มีหลายรุ่นที่ปิดช่องประตูลมจนสนิท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และเพื่อการประหยัดน้ำมัน รวมไปถึงเพื่อให้ผู้โดยสารรถยนต์ไม่ได้กลิ่นหรือควันจากภายนอกเข้ามาในรถ

ปัญหาคือ การขับรถยนต์นานๆทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ว่าเป็นการสันดาปของเครื่องยนต์เอย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากผู้โดยสารในรถเอย ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสาร และพฤติกรรมของผู้โดยสารล้วนแล้วแต่มีผลต่อปริมาณCO2 หากนั่งนิ่งๆ เงียบๆ ก็จะสร้างก๊าซน้อยกว่าคนที่กำลังปาร์ตี้ร้องเพลงกันในรถ หรือ รถยนต์ที่นั่ง 4 คน จะมีปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เลยระดับ 1000 ppm ได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ในเวลา 4-5 นาทีเท่านั้น

ดังนั้น หากเพื่อนๆต้องเดินทางไกล ควรจะระมัดระวังการหลับใน เพราะเราสามารถเกิดอาการง่วงได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะรถคันไหนที่มีผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปด้วยหลายคน ควรเปิดกระจกรถเพื่อระบายอากาศบ้าง ทุกๆ15-20 นาที เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ของเพื่อนๆคนพาเที่ยวที่รักทุกคนนะคะ❤️

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1672817162848911&set=a.341092282688079&type=3&theater

Comments

comments